ศูนย์รักษ์เต้านม Breast Center รพ.พญาไท 1 เราพร้อมดูแลรักษา
“มะเร็งเต้านม” เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก และทุก 1 นาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่สูงถึงปีละ 12,161 ราย เฉลี่ยวันละ 34 ราย และเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 10 ราย
ในอดีตมะเร็งเต้านมพบบ่อยเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก แต่ปัจจุบันกลายเป็นอันดับ 1 ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลพญาไท 1 หรือ Phyathai 1 Breast Center เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาเต้านมและโรคมะเร็งเต้านม จึงให้การดูแลรักษาโดยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งเต้านม และทีมสหสาขาวิชาชีพด้านโรคมะเร็งที่เรียกว่า Multidisciplinary Team Breast Cancer หรือ MDT Breast Cancer
ที่สำคัญทางศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้ผ่านการประเมินรับรองระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม มาตรฐาน DSC เป็นที่เรียบร้อย ว่ามีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย รวมถึงผลการรักษาที่ดีและมีคุณภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
ที่นี่ เรายังมีทีมแพทย์ผู้หญิงที่เข้าใจในความรู้สึกของผู้หญิงด้วยกัน มาร่วมให้การดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งแพทย์จะทำงานร่วมกับคณะกรรมการรักษาโรคมะเร็งแบบบูรณาการ (MDT Team) อันประกอบด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ทีมรังสีแพทย์ พยาธิแพทย์ พยาบาลชำนาญการด้านโรคมะเร็ง เภสัชกร นักจิตวิทยา เพื่อวางแนวทางการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแบบเฉพาะบุคคล รวมถึงมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมด้านมะเร็งในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังบุคคลในครอบครัวที่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมอันสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ปัจจุบัน ศูนย์รักษ์เต้านมพญาไท 1 มีแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเต้านมและมะเร็งเต้านมที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการรักษาที่แม่นยำถูกต้อง และปลอดภัยสูงสุด รวมถึงผลลัพธ์ในการผ่าตัดรักษาที่ดีมีคุณภาพสูง ด้วยการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัยและเหมาะสมในราคาที่เข้าถึงได้ ให้ดูแลแบบเฉพาะบุคคลอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นคนในครอบครัว
ในด้านการผ่าตัด ศูนย์รักษ์เต้านมยังได้นำการผ่าตัดมะเร็งแบบ “Oncoplastic Breast Surgery” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการตัดเนื้อร้ายแบบไม่ต้องเฉือนเต้านมทิ้งทั้งหมดมาใช้ จึงทำให้สามารถสงวนเต้านม คงรูป คงสภาพ และมีความสวยงามของเต้านมได้เหมือนเดิมหรือคล้ายเดิมที่สุด
การผ่าตัดเต้านมจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมกับการนำวิธีการผ่าตัดทางศัลยกรรมตกแต่งมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย นั่นคือ มีการตกแต่งเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาทดแทนเต้านมเดิมที่ถูกตัดออกไป จากเดิมการผ่าตัดมะเร็งเต้านมเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัว เพราะเป็นการตัดเต้านมออกทั้งหมด ซึ่งการที่เต้านมหายไปทั้งเต้าอาจทำให้คุณผู้หญิงเสียความมั่นใจในตัวเอง ส่วนการผ่าตัดแบบสงวนเต้านั้นผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจดูไม่ดี คือมีการบิดเบี้ยวของหน้าอกที่เสียรูปทรง
“วิธีการผ่าตัดแบบออนโคพลาสติก ( Oncoplastic )
จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบสนองทั้งการรักษามะเร็ง
และคงไว้ซึ่งความสวยงามของเต้านมได้ดีกว่า”
พร้อมด้วยเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความแม่นยำ
- เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบดิจิตอล ( Digital Mammogram )
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ ( Ultrasound )
- เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )
- เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan )
- การตรวจชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งโดยการเจาะตรวจ Breast Biopsy หรือการเจาะภายใต้การใช้เทคนิคทางรังสีวิทยาเข้าช่วยเพื่อความแม่นยำในการตรวจ เป็นต้น
มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ
ส่วนน้อยอาจจะเจ็บในกรณีที่ก้อนโตเร็ว หรือกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
การคลำเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง
ตั้งแต่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป จึงมีความสำคัญ
และรีบมาพบแพทย์เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านมได้
โดยไม่ควรรอให้มีอาการเจ็บก่อน