ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์ icon

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์

พญาไท 2

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ–อาชีวเวชศาสตร์  โรงพยาบาลพญาไท 2

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ-อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ดำเนินการให้บริการดูแลสุขภาพพนักงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ของผู้ประกอบอาชีพทุกภาคส่วน ทั้งบริษัท Cooperates โรงงานอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ ดำเนินการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวเวชศาสตร์ และทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีและและชีวิตมีความสุข ( Healthy and wellness ) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีแนวทางของ 6 A

 

Accredit: โรงพยาบาลดำเนินการขอรับรองมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยจากกระทรวงสาธารณสุขไทยโดยได้รับรองในระดับ “ดีเยี่ยม” และก้าวต่อไปสู่มาตราฐานสากล เพื่อให้ ผู้ประกอบกิจการ บริษัท และพนักงานผู้รับบริการทุกท่าน มั่นใจว่าการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลพญาไท 2 ที่ได้ดำเนินการและให้คำแนะนำปรึกษาเป็นตามแนวทางมาตราฐาน ถูกต้อง และครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครื่องมือทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ได้รับการรับรองมาตรฐานและถูกต้องตามหลักวิชาการ

 

นอกจากนั้นยังมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และบุคลากรด้านกายภาพบำบัดที่ผ่านการอบรมและได้เป็น Matheson’s Certified Functional Capacity Evaluator และMatheson’s Certified Ergonomic Evaluation Specialist จากสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถประเมินผู้ป่วยที่ส่งมาจากลูกค้าองค์กร และพิจารณาให้กลับไปทำงานอย่างเหมาะสมภายหลังจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ รวมถึงปัญหาทางด้านการยศาสตร์ ( ergonomic ) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 

Assessments: มีการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงาน และออกแบบ วางแผนการเฝ้าระวังสุขภาพ รวมถึงกำหนดรายการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสม นอกจากกนี้ยังใช้โปรแกรมประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยพิจารณาปัจจัยโรคเรื้อรัง ความเสี่ยงจากการประกอบการงาน รวมทั้งพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพ

 

เครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล ได้เป็นผู้นำร่องในการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรในการดูแลพนักงานให้มีสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงานและการใช้ชีวิตในการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ด้วยการนำเสนอวิธีการดูแลสุขภาพที่เรียกว่า Let’s Get Healthy! ( LGH ) Thailand Application ซึ่ง BDMS พัฒนาร่วมกับ OHSU ให้กับลูกค้าองค์กร และพนักงานให้ตระหนักรู้ความเสี่ยงทั้งสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางใจของตนเอง และทำให้องค์กรเห็นภาพรวมสุขภาวะพนักงาน จากการรายงานการบริหารสุขภาวะพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Health Productivity Management ( HPM ) Report ซึ่งผลที่ได้จะนำไปสู่การออกแบบการดูแลสุขภาพพนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพพนักงาน และเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้กับองค์กร รวมถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมการมีสุขภาพที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

Analysis: วิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพทั่วไป สุขภาพจากการทำงาน โดยวิเคราะห์เป็นรายบุคคล และวิเคราะห์ทางเวชสถิติสำหรับองค์กร เพื่อมองหาปัญหา และร่วมหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบรายบุคคล และรูปแบบขององค์กร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต ฟื้นฟูสุขภาพจากภาวะโรคเรื้อรังให้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของพนักงานและขององค์กร เพิ่มผลผลิตของพนักงานและองค์กร

 

Adaptation: สร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกกรม เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ในกลุ่มความเสี่ยง

เครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล ได้ดำเนินก่อตั้งทีมงาน Health up เพื่อจุดประสงค์ส่งเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร ให้ตระหนักและปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตที่มีผลดีต่อสุขภาพพนักงานในกลุ่มเสี่ยง โดยเป็นทีมสหวิชาชีพ ทั้งทีมแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวเวชศาสตร์ ยังมีทีมงานฝ่ายบุคคล กายภาพบำบัด แพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ฝ่ายการตลาด และมีการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาสุขภาพให้หลากหลาย ให้เฉพาะเจาะจงตามปัญหาสุขภาพเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ได้ผลประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น โปรแกรมเฉพาะโรค โปรแกรมเฉพาะบุคคล โปรแกรมเฉพาะตามอาชีพการงาน

 

Acknowledges: มีการทำศึกษาวิจัยทางวิชาการ เพื่อใช้ดำเนินงานทางอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อสร้างความมั่นใจในองค์กร Cooperates โดยมีงานวิจัยทางวิชาการอ้างอิง

  • ร่วมกับ BDMS และ OHSU แปลแบบสำรวจพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ( Impulsivity ) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแปลจากต้นฉบับ Barratt Impulsiveness Scale ( BIS 11 ) เป็นฉบับภาษาไทย โดยขอลิขสิทธิ์จากต้นฉบับ โดยแปลบนพื้นฐานงานวิจัย เป็นแบบสำรวจที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการชี้วัดได้จริง ได้รับการแปลเพื่อนำมาใช้กับผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยชาวไทย และตีพิมพ์เผยแพร่โดย BDMS และ OHSU ในวารสารการวิจัยทางจิตวิทยา ( จูนจา และคณะ, 2562 ) ( Psychiatry Research ( Juneja et al., 2019 ) )
  • ร่วมกับ BDMS และ OHSU ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง Let’s Get Healthy! Thailand Diet Survey Validation เป็นการศึกษาความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับคนไทยต่อความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโปรแกรม Let’s Get Healthy! ซึ่งอยู่ระหว่างส่งเรื่องตีพิมพ์

 

Applications: มีการสร้าง Application ต่าง ๆ สำหรับพนักงานองค์กร เพื่อให้ทราบ และเข้าใจสุขภาพของตนเอง รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ แนวทางและเครื่องมือการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อสุขภาพที่ดี

  • Let’s Get Healthy! ( LGH ) Thailand Application ใช้ในการประเมินพฤติกรรมของตนองว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
  • Health up Application ใช้สำหรับดูผลตรวจสุขภาพ และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ-อาชีวเวชศาสตร์ ให้บริการ ดังต่อไปนี้

  1. การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก ดำเนินการด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการอย่างครอบคลุมโดยทีมแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์

    1.1 Health Risk Assessment by In-Depth Walk through Survey การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยการสำรวจสถานประกอบการเชิงลึก เพื่อตรวจประเมินลักษณะและสภาพแวดล้อมการทำงาน ในการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านสุขภาพเฉพาะ เนื่องจากแต่ละสถานประกอบการมีสิ่งคุกคามต่อสุขภาพแตกต่างกัน รวมถึงออกแบบโปรแกรมการการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับการทำงาน และถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเกิดประโยชน์ต่อพนักงาน และองค์กรมากที่สุด


    1.2 Out clinic and primary doctor company การจัดบริการห้องพยาบาลประจำสถานประกอบการ เพื่อให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอนามัยของพนักงานในสถานประกอบการ โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาวิชาชีพเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพพนักงานด้วย เช่น อายุรแพทย์ แพทย์โสต ศอ นาสิก และแพทย์กายภาพบำบัด เป็นต้น รวมถึงมีระบบบริการแพทย์ทางไกล Telemedicine เพื่อให้เข้าถึงการตรวจรักษาจากแพทย์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยดำเนินการภายใต้แพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด


    1.3 Doctor company consultant ทีมแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์เป็นที่ปรึกษาประจำสถานประกอบการหรือองค์กร เพื่อให้คำแนะนำ และสนับสนุนให้สถานประกอบการดำเนินการด้านอาชีวอนามัยได้ตามมาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปรึกษา และตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน


    1.4 Health up จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ และโดยวางแผนและออกแบบโปรแกรมให้สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของพนักงานในองค์กร




  2. Fit For Work Program : ตรวจประเมินภาวะสุขภาพตามหลักอาชีวเวชศาสตร์ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน โดยเป็นไปตามแนวทางการประเมินความเหมาะสมกับการทำงานได้อย่างปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับตามหลักสากล

2.1 ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ (Confined Space Medical examination) เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของของพนักงาน ก่อนการไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับกาศ ซึ่งเป็น “สภาพอันตราย” ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยทุก 1 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพของพนักงานพร้อมในการปฏิบัติงาน และไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน


2.2 ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานในที่สูง (Work at Height Medical examination ) การทำงานบนที่สูงถือเป็นงานที่มีความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจประเมิน ความพร้อมของสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและเจ็บป่วยลงได้ ตามกฎหมายด้านแรงงานของประเทศไทยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง ได้แก่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 , มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ( มปอ. 101: 2561 ) สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( องค์การมหาชน ) และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง เป็นต้น


2.3 ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามมาตรฐาน ( Oil & Energies United Kingdom; OEUK Medical examination ) เพื่อการตรวจประเมินความพร้อมของพนักงาน ในการไปปฏิบัติงานในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทางศูนย์อาชีวอนามัย (Occupational Health Center) มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาติจาก OEUK เพื่อการตรวจประเมินพนักงานในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามที่ มาตรฐานของประเทศสหราชอาณาจักรกำหนด


2.4 ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานอุตสาหกรรมน้ำมันนอกชายฝั่ง (Offshore Medical examination) เพื่อการเตรียมความพร้อมของพนักงาน ในการไปปฏิบัติงานอุตสาหกรรมน้ำมันนอกชายฝั่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และลักษณะงานเฉพาะที่มีความเสี่ยงสูง พนักงานจึงต้องมีสุขภาพที่พร้อมและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรักษาและแก้ไขก่อนไปปฏิบัติหน้าที่


2.5 ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนเรือ ( Seafarer Medical examination ) เพื่อการเตรียมความพร้อมของพนักงานในการไปปฏิบัติงานบนเรือและด้วยมาตรฐานการตรวจสุขภาพคนประจำเรือและการออกประกาศนียบัตรสุขภาพ พ.ศ. 2545 ผู้ที่ปฏิบัติงานในเรือเดินทะเลจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตพิเศษจากกรมเจ้าท่า และออกใบอนุญาตด้วยใบตรวจสุขภาพตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด


2.6 ตรวจสุขภาพสำหรับนักบินและผู้ทำการในอากาศ ( Aviation Medical Examination ) โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ผ่านการรับรองเป็นสถานดำเนินการตรวจและออกใบสำคัญแพทย์ พร้อมให้บริการครบวงจรด้านเวชศาสตร์การบินด้วยความชำนาญ โดยพร้อมให้บริการเวชศาสตร์การบินที่หลากหลาย เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ และสามารถเข้าถึงได้โดยแพทย์เวชศาสตร์การบินที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ( CAAT ) เน้นเรื่องสุขภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ นักบิน แอร์โฮสเตส ผู้โดยสารสายการบิน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง


        • สถานที่ตรวจเวชศาสตร์การบินพลเรือน AEROMEDICAL OFFICE ประเภท AMO
        • การตรวจสุขภาพนักบินและผู้ทำการในอากาศแบบต่ออายุ
        • ใบรับรองแพทย์สำหรับนักบินประเภท 2-PPL
        • ใบรับรองแพทย์สำหรับนักบินประเภท 4-UPL
Loading...


Loading...
Loading...
Loading...