พญ. สิริพิมพ์ เพ็ญชาติ
พญ. สิริพิมพ์ เพ็ญชาติ
ความชำนาญ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
สาขา
ข้อมูลทั่วไป
ก่อนมาเป็นกุมารแพทย์ ก็ชอบดูแลคนไข้เด็กอยู่แล้ว มีครั้งนึงได้ดูแลเคสเด็กที่มาด้วยอาการหนัก ความเร่งด่วน คือ ต้องวินิจฉัยและทำการรักษาให้เร็ว และเหมาะสมที่สุด คืนนั้นเราคอยเฝ้าดูอาการของเขาเพื่อปรับยา วันรุ่งขึ้นพบว่า เด็กมีอาการดีขึ้น พอตกเย็นจากที่ซึมๆ เราเห็นเขายิ้ม แล้ววันถัดมาเขาเดินได้วิ่งได้ หัวเราะได้ และเห็นคุณพ่อคุณแม่โล่งใจ เราก็มีความสุขไปด้วย
สื่อสารอย่างเข้าใจ. . . ให้ความสำคัญกับการสังเกต
พญ. สิริพิมพ์ เพ็ญชาติ บอกไว้ว่า ธรรมชาติของเด็กจะมีความบริสุทธิ์สดใส เมื่อใดที่เขาป่วย เราจะเห็นได้ชัด บางคนอาจจะบอกว่าการสื่อสารกับเด็กเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับหมอแล้ว หมอมีความสุขที่ได้คุย ได้ถาม ได้สังเกตเด็กๆ การเป็นหมอเด็ก ทำให้ได้ดูแลสุขภาพเด็กตั้งแต่แรกคลอด ฉีดวัคซีน ติดตามพัฒนาการตามช่วงวัย ทำให้ได้เห็นช่วงเวลาที่เขาเติบโตตั้งแต่เล็กๆ สู่การเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
“กับเด็กเล็กที่เขายังพูดไม่ได้ หรือยังอาจสื่อสารถึงสิ่งที่ตัวเองรู้สึกได้ไม่หมดหรืออธิบายไม่ถูก เราต้องมีวิธีคุย สังเกต หากเด็กร้องไห้งอแง กลัวเจ็บ กลัวคนแปลกหน้า หมอก็จะต้องมีวิธีสื่อสารที่ดีที่จะทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจ ว่าคุณหมอจะเป็นผู้ดูแลเขาให้หายเจ็บปวดหรือหายป่วยได้ ทั้งยังต้องมีความเข้าอกเข้าใจในความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ ยินดีที่จะอธิบายให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจตัวโรคและแนวทางการรักษา เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การรักษาราบรื่นและสำเร็จได้”
เด็กวิกฤต. . . ต้องพร้อมดูแลอย่างใกล้ชิด
เป็นกุมารแพทย์ได้ 3 ปี จึงตัดสินใจศึกษาต่ออนุสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ ICU เด็ก เพราะเป็นด้านที่สนใจ มีความสุขกับการได้ใช้ความรู้ และทักษะต่างๆ ในการดูแลเด็กวิกฤต
“การเป็นหมอเด็กวิกฤต ต้องไม่กลัวเคสหนักหรือเคสด่วน การวินิจฉัยและการตัดสินใจรักษาต้องรวดเร็ว แม่นยำ และต้องอาศัยความละเอียดไปพร้อมๆ กัน ขณะรักษาก็ต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด การเจาะเลือดก็ต้องทำเท่าที่จำเป็น การคำนวณยาต้องละเอียด ให้ยาน้อยไปก็ไม่หายหรือหายช้า ให้ยามากไปก็อาจเกิดผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็น การคอยติดตามดูการสนองตอบต่อยาจึงสำคัญมาก เพราะการปรับปริมาณยาหรือชนิดของยาจะช่วยให้คนไข้หายดีและหายได้เร็วขึ้นได้”
พัฒนาไม่หยุด. . . เพื่อผลการรักษาที่ดี
แม้การรักษาในแต่ละโรคจะมีมาตรฐานหรือแนวทางที่ทำต่อๆ กันมาอยู่แล้วก็จริง แต่เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น คุณหมอไม่เคยหยุดการอัปเดตความรู้ต่างๆ ทั้งเรื่องแนวทางการรักษาโรค และเรื่องยา โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าต่อผลการรักษา ในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือนวัตกรรมการรักษา ก็ต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมและดีขึ้นเรื่อยๆ
“เด็กจะมีสุขภาพดีได้ ก็อยู่ที่ร่างกายหรือพันธุกรรมที่เด็กได้มา รวมถึงอาหารการกิน การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม อย่างเด็กเล็กๆ ในยุคนี้ที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต หรือดูทีวีตลอดทั้งวัน อาจทำให้เด็กขาดการกระตุ้นพัฒนาการ โดยเฉพาะทางด้านภาษาและการสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กได้ อย่างไรก็ดี นอกจากการเลี้ยงดูที่ดีแล้ว เด็กๆ ควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และวัคซีนตามวัยให้ครบถ้วน”
การศึกษา
- 2543 – 2549 แพทยศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยม), คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2552 – 2555 วุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- 2558 – 2560 วุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ตารางออกตรวจ
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก
คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพเด็ก