อัลตราซาวด์คืออะไร

พญาไท 1

1 นาที

ส. 01/04/2017

แชร์


Loading...
อัลตราซาวด์คืออะไร

อัลตราซาวด์คืออะไร

อัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือ คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounography คือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นมา

 

ประโยชน์ของการตรวจอัลตราซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์

การตรวจอัลตราซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์ มีประโยชน์ในการตรวจความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายทารกในครรภ์และโครงสร้างหลัก ได้แก่ ดูรก สายสะดือ น้ำคล่ำ กระโหลดศรีษะ เนื้อสมอง แขน ขา ช่องอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าห้อง และอวัยวะหลักภายในช่องท้อง การวัดขนาดของทารกจากการตรวจอัลตราซาวด์ ยังช่วยในการยืนยันอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอดในรายที่มารดาจำประจำเดือนไม่ได้ หรือประจำเดือนไม่แน่นอน ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลรักษาในช่วงใกล้คลอด ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด ซึ่งอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

 

นอกจากนั้นการตรวจอัลตราซาวด์ ทำให้แม่ได้เห็นภาพลูกที่เคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์ ก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันธ์ตั้งแต่บุตรยังไม่คลอด (Material-fetal Bonding) หลายประเภทแถบยุโรปมีนโยบายให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรรับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงกลางของการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการคัดกรองว่าทารกในครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ (Mid-trimester Screening)

 

ทั้งนี้การตรวจอัลตราซาวด์ก็ยังมีข้อจำกัด คือ ความผิดปกติบางอย่างเป็นสิ่งที่วินิจฉัยไม่ได้ โดยเฉพาะความผิดปกติของอวัยวะที่มีขนาดเล็กมาก หัวใจพิการแต่กำเนิดบางประเภทหรือการทำงาน (Function) ของอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...