นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ

นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ

นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ


ความชำนาญ
ศัลยศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดและทรวงอก
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

การเป็นศัลยแพทย์ทรวงอกต้องมีทัศนคติที่ดีและมีความรักในวิชานี้ เพราะในทุกการรักษาและผ่าตัดมีความท้าทายต่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของคนไข้ เราต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของคนไข้ทั้งก่อนการผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังการผ่าตัด และเพราะการผ่าตัดหัวใจหรือทรวงอกมักเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาในการทำหัตถการนานหลายชั่วโมง แพทย์จึงต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ มีความมั่นใจในความรู้ที่ศึกษามา รู้จักเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องมีความละเอียดรอบคอบและมีสมาธิเป็นอย่างมาก

 

 

รศ. นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้นมีความสนใจด้านศัลยกรรม (การรักษาโรคด้วยวิธีผ่าตัด) เมื่อสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปี พ. ศ. 2523 แล้ว จึงได้ศึกษาต่อในสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป และต่อเนื่องอนุสาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ. ศ. 2531

 

 

ในระหว่างที่เป็นแพทย์อยู่นั้น คุณหมอได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดลไปศึกษาเพิ่มเติมด้านศัลยกรรมทรวงอก ที่ Harefield Hospital กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Royal Brompton และ Harefield NHS Foundation Trust ศูนย์หัวใจและปอดที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรและในยุโรป เป็นเวลา 1 ปี จากนั้นได้ศึกษาต่อที่ Baylor College of Medicine และ Texas Heart Institute เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา แห่งละ 1 ปี รวมเวลาที่ศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น 3 ปีเต็ม

 

 

เมื่อกลับมาเป็นแพทย์ชำนาญการด้านศัลยกรรมทรวงอก ที่ รพ. จุฬาลงกรณ์ ยังได้ทำงานด้านการสอนและวิชาการที่คณะแพทย์จุฬาฯ รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษทางศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือดที่ รพ. ราชวิถี รพ. ชลบุรี รพ. หัวหิน รพ. นครราชสีมา รพ. สรรพสิทธิประสงค์ และเป็นอาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาแพทย์ด้านการผ่าตัดหัวใจและทรวงอกที่ รพ. สุรินทร์ โดยตำแหน่งทางวิชาการล่าสุดคือ รองศาสตราจารย์

 

 

รศ. นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ นอกจากเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศัลยศาสตร์หลอดเลือดและทรวงอก รพ. พญาไท 2 แล้ว ยังทำหน้าที่บริหาร ดูแลและรักษาคนไข้ที่ รพ. พญาไท 1 และ รพ. เปาโล พหลโยธิน ซึ่งเป็นกลุ่มโรงพยาบาล PMC อีกด้วย

 

 

ความเชี่ยวชาญคือหัวใจสำคัญ

เนื่องจากคุณหมอดูแลคนไข้ทั้งโรคทรวงอกและโรคหัวใจจึงคาบเกี่ยวกับการรักษาโรคในหลายๆ อวัยวะ การจัดทีมแพทย์หลายสาขาให้ทำงานร่วมกันก็เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยและดีที่สุด เพราะการรักษาโรคหัวใจก็ยังต้องอาศัยแพทย์ที่ชำนาญการลงลึกแตกต่างกันไป อย่างการรักษาคนไข้หลอดเลือดหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด ก็จะทำโดยแพทย์ที่ชำนาญด้านการสวนหลอดเลือดหัวใจโดยตรง หรือกรณีคนไข้ลิ้นหัวใจตีบ แม้โดยทั่วไปจะจำเป็นต้องผ่าตัด แต่บางรายก็สามารถใช้การรักษาด้วยการใส่ลิ้นหัวใจเทียมโดยสอดเข้าไปจากทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบได้ การเลือกการรักษาให้เหมาะสมจากแพทย์ชำนาญการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว หรือมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เกินจำเป็น

 

 

หน้าที่ของศัลยแพทย์ทรวงอกและหลอดเลือด

คุณหมอเล่าถึงการทำงานและการรักษาคนไข้ว่า หน้าที่ของศัลยแพทย์ทรวงอกและหลอดเลือด จะดูแลคนไข้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ คนไข้โรคหัวใจ ที่เป็นโรคหัวใจชนิดต่างๆ แต่กำเนิด หรือโรคหัวใจที่เป็นภายหลังเกิด เช่น ลิ้นหัวใจพิการ หลอดเลือดหัวใจตีบ คนไข้โรคทรวงอก เช่น โรคปอด หลอดอาหาร และคนไข้ที่มีปัญหาหลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดส่วนปลาย การรักษาจะทำได้ทั้งการผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือการรักษาโดยใช้สายสวนทั้งในบริเวณทรวงอกและในช่องท้อง

 

 

ในกรณีโรคปอด ก็มีทั้งการพบจุดในปอด ก้อนเนื้อในปอด หรือมะเร็งปอด หากเป็นก้อนใหญ่มากหรือเกิดอยู่ตรงกลางขั้วปอดก็ต้องผ่าตัดแบบเปิด แต่ถ้าเป็นเพียงจุดเล็กๆ ก้อนเล็กๆ ก็สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้องได้ ทั้งนี้ยังต้องดูองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย

 

 

อีกอย่างที่พบบ่อย คือคนไข้มีลมรั่วที่ปอด ซึ่งพบในคนหนุ่มสาวมากขึ้น หากเป็นบ่อยหรือเมื่อทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) แล้วพบว่ามีถุงลมโป่งพองเล็กๆ ที่ยอดปอด ก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อตัดบริเวณที่มีลมรั่วออกและทำการปิดรอยรั่วนั้นพร้อมกับใช้ยาเคลือบป้องกันไว้ไม่ให้เกิดการเป็นซ้ำในอนาคต

 

 

ผ่าตัดมะเร็งปอดให้อยู่รอดปลอดภัย

ในส่วนของมะเร็งปอด การผ่าตัดโรงมะเร็งปอดนั้นหากเป็นมะเร็งปอดแบบเซลล์เล็กซึ่งพบประมาณ 25% กลุ่มนี้มักไม่ต้องผ่าตัด สามารถรักษาด้วยการให้เคมีบำบัด แต่กลุ่มใหญ่อีกราว 75% จะเป็นแบบไม่ใช่เซลล์เล็ก ซึ่งในระยะแรกมันไม่ปรากฏอาการ แต่มักพบจากการเอกซเรย์ปอดในการตรวจสุขภาพประจำปี แต่หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คนที่สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานติดต่อกันเป็นสิบๆ ปี พอมีอายุสัก 45 หรือ 50 ปีขึ้นไป ก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดอย่างละเอียด โดยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Low-Dose CT SCAN ซึ่งจะมีความละเอียดกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป หากพบจุดเล็กๆ ในปอดก็ต้องรีบรักษา หรือหากพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นก็มักผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ เพราะเป็นการผ่าเอากลีบปอดในส่วนที่เป็นเซลล์มะเร็งออกทั้งหมด และมีการนำต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดออกด้วย ซึ่งหากติดตามผลต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีแล้วไม่พบโรคมะเร็งกำเริบก็เรียกได้ว่าหายขาด

 

 

การผ่าตัดบายพาสต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)

นอกจากการรักษาผ่าตัดโรคทรวงอกและหัวใจแล้ว รศ. นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ ยังเป็นแพทย์ชำนาญการ การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) ซึ่งเป็นการรักษาตัดต่อเส้นเลือดหัวใจที่มีการตีบหรือตัน เพื่อให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันไปได้ โดยในแต่ละปีคุณหมอได้ทำการผ่าตัดบายพาสหัวใจให้คนไข้กว่า 60-70 ราย และต่อเนื่องยาวนานมาหลายสิบปี

 

 

“โดยมาก… คนไข้หลอดเลือดหัวใจตีบ มาเพราะมีอาการแน่นหน้าอก หากตรวจพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ก็ต้องทำการฉีดสีเพื่อดูรอยโรค เพื่อดูบริเวณที่เป็นและระดับความรุนแรง บางกรณีก็รักษาได้ด้วยการสวนหัวใจ การใส่ขดลวด ในกรณีมีการตีบทั้งสามเส้นและมีโรคเบาหวานร่วมด้วย การทำงานของหัวใจก็จะไม่ค่อยปกติอยู่แล้ว อาจต้องพิจารณาทำการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ เพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการรักษาด้วยการใส่ขดลวด และการทำบายพาสสามารถทำได้พร้อมกันทั้ง 3 เส้น และเป็นการทำในบริเวณที่หลอดเลือดแข็งแรงไม่มีรอยโรค เมื่อทำการผ่าตัดและเย็บเส้นเลือดได้อย่างดีแล้วก็มีความปลอดภัยในระยะยาวที่ดี”

 

 

ความประทับใจที่ยาวนานกว่า 30 ปี

แม้จะผ่านมานานกว่า 30 ปี แต่เคสนี้ก็ยังเป็นที่จดจำและประทับใจไม่รู้ลืม นั่นก็คือ การได้มีโอกาสรักษาเด็กหญิงวัย 2 ขวบ ซึ่งเธอเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และมีภาวะปอดติดเชื้อ ตั้งแต่เกิดเด็กคนนี้ไม่เคยได้ออกจากโรงพยาบาลเลย ในขณะที่รักษาตัวอยู่ที่ รพ. มายาวนั้น เกิดเหตุมีเด็กวัยเดียวกัน เลือดกรุ๊ปเดียวกัน จมน้ำในสระว่ายน้ำจนมีภาวะสมองตายและเข้ามารับการดูแลที่ รพ. ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่สามารถทำให้สมองที่ตายไปแล้วกลับคืนมาเป็นปกติได้ เมื่อเป็นดังนั้นญาติของเด็กจึงยินดีที่จะบริจาคอวัยวะให้กับผู้ป่วยที่รอความหวังอยู่

 

 

เมื่อทีมแพทย์ได้ทำการดูแลปอดของเด็กที่มีภาวะสมองตายให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีเป็นปกติเพื่อพร้อมสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะแล้ว จึงได้เริ่มทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดให้กับเด็กหญิง ซึ่งในเคสนี้นับว่าเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดพร้อมๆ กันให้กับคนไข้ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยและในเอเชีย และเด็กหญิงคนนี้ก็สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติได้ยาวนานถึง 28 ปี ซึ่งนับเป็นความคุ้มค่าของตัวคนไขและครอบครัว และเป็นความสำเร็จ ความประท้บใจในฐานะศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด

 

 

เพราะ “โอกาส คือลมหายใจ มองไม่เห็นแต่เราเชื่อมั่นในสิ่งนั้นได้” ดังนั้น เมื่อการผ่าตัดสำเร็จลุล่วงแล้ว คุณหมอจะดูแลคนไข้ให้ฟื้นตัว และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เปรียบเสมือนความต่อเนื่องของลมหายใจ และยังเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมว่าหัตถการที่ทำการรักษาโดยมีรายละเอียดต่างกันนั้นได้ผลดีมากน้อยแค่ไหนอย่างไร เพื่อให้การรักษาในครั้งต่อๆ ไปออกมาดีที่สุดเสมอ


  • 2534 Cardiovascular Surgery, Baylor College of Medicine Houston Texas USA
  • 2518 – 2523 แพทยศาสตร์บัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับ1), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2524 – 2529 ศัลยศาสตร์ทั่วไป, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2529 – 2531 ศัลยศาสตร์ทรวงอก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ

อังคาร
20 พ.ค. 2025

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 12:00)
พุธ
21 พ.ค. 2025
พฤหัสบดี
22 พ.ค. 2025
ศุกร์
23 พ.ค. 2025
เสาร์
24 พ.ค. 2025
อาทิตย์
25 พ.ค. 2025
จันทร์
26 พ.ค. 2025
อังคาร
27 พ.ค. 2025

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 12:00)
พุธ
28 พ.ค. 2025
พฤหัสบดี
29 พ.ค. 2025
ศุกร์
30 พ.ค. 2025
เสาร์
31 พ.ค. 2025
อาทิตย์
01 มิ.ย. 2025
จันทร์
02 มิ.ย. 2025
อังคาร
03 มิ.ย. 2025

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 12:00)
พุธ
04 มิ.ย. 2025
พฤหัสบดี
05 มิ.ย. 2025
ศุกร์
06 มิ.ย. 2025
เสาร์
07 มิ.ย. 2025
อาทิตย์
08 มิ.ย. 2025
จันทร์
09 มิ.ย. 2025
อังคาร
10 มิ.ย. 2025

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 12:00)
พุธ
11 มิ.ย. 2025
พฤหัสบดี
12 มิ.ย. 2025
ศุกร์
13 มิ.ย. 2025
เสาร์
14 มิ.ย. 2025
Loading...
Loading...