โรคกระดูกงอกเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อกระดูกเสื่อม แตก หัก ซึ่งร่างกายจะนำแคลเซียมไปซ่อมแซมและจะทำให้กระดูกนั้นๆ เสียรูปทรง เป็นแคลเซียมที่หนาผิดธรรมชาติ จึงเรียกว่า กระดูกงอก สามารถเกิดได้กับกระดูกทุกส่วนในร่างกายคนเรา พบบ่อยที่กระดูกไหล่และหลัง ซึ่งกระดูกงอกส่งผลอันตรายหลายด้าน อาจมีการทิ่มกล้ามเนื้อ เส้นประสาท อาการกระดูกงอก ได้แก่ อาการเจ็บปวดทรมาน ใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้คล่องแคล่วเหมือนปกติ มีการงอกโปนของกระดูก ไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นได้ตามปกติ แต่บางรายอาจไม่มีอาการปวดร่วม
แพทย์จะตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ กรณีที่มีขนาดเล็กสามารถตรวจได้ด้วยอัลตราซาวด์ ซึ่งสามารถบอกจุด และการกระจายของแคลเซียมที่สะสม และดูความผิดปกติ
แนวทางการรักษากระดูกงอกมีหลายวิธี ดังนี้
- การรับประทานยา ประเภทยาแก้ปวดและลดการอักเสบ
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่แข็งแรง
- การฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณเอ็นที่อักเสบ
- การผ่าตัด หากมีอาการเจ็บ ปวด และมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเอ็นดีขึ้น และลดการอักเสบ
การดูแลตนเอง
เนื่องจากโรคกระดูกงอก ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำได้เพียงการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก หมอนรองกระดูก ด้วยอาหารที่มีแคลเซียมสูง โปรตีนจากเนื้อสัตว์ และไขมันจากปลา การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และข้อต่อ เพื่อให้การดูแลต่างๆ เหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการดูแลสุขภาพ