EmbryoScope Plus ที่พักของตัวอ่อนระดับ Penthouse

พญาไท 3

1 นาที

จ. 17/02/2025

แชร์


Loading...
EmbryoScope Plus ที่พักของตัวอ่อนระดับ Penthouse

กระบวนการการรักษาภาวะมีบุตรยากที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ การทำ ICSI ( Intracytoplasmic Sperm Injection ) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยการปฏิสนธินอกร่างกายโดยการฉีดอสุจิหนึ่งตัวที่แข็งแรงและคุณภาพดีที่สุดเข้าไปในเซลล์ไข่ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส(Blastocyst)ที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกของคุณแม่ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น

 

ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส(Blastocyst)ที่สมบูรณ์แข็งแรง

 

หลังจากที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงอยู่ในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนเป็นเวลา 5 – 7 วัน โดยทั่วไปการเลี้ยงตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในระบบเปิด ในแต่ละวันนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน(Embryologist)ต้องนำตัวอ่อนออกจากตู้เพาะเลี้ยงเพื่อดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแล้วนำกลับเข้าตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนต่อ ซึ่งผิดกับธรรมชาติที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตภายในท้องคุณแม่ที่ไม่ได้สัมผัสกับสภาวะแวดล้อมภายนอก

 

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Embryoscope Plus เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนในระบบปิด

 

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Embryoscope Plus เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนในระบบปิด โดยมีกล้องบันทึกภาพถ่ายวิดีโอต่อเนื่องเป็นแบบ Timelapse เพื่อใช้ดูพัฒนาการการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนไม่จำเป็นต้องนำตัวอ่อนออกจากตู้เพาะเลี้ยงมาดูด้วยตัวเอง

 

สามารถดูผ่านโปรแกรมที่เชื่อมต่อกับตัวตู้เพาะเลี้ยงได้ทุกเวลาที่ต้องการ ลดการรบกวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนพัฒนาเป็นระยะบลาสโตซิสที่สมบูรณ์และแข็งแรงได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเคสที่กระตุ้นได้จำนวนไข่ที่น้อยกว่าปกติจะมีโอกาสที่ได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสน้อย การที่ตัวอ่อนถูกเลี้ยงอยู่ในระบบปิด จะช่วยลดปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนนั่นเอง

 

นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน(Embryologist)

 

ถึงแม้ว่าตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนรุ่นอื่นที่เป็นระบบปิดถูกนำมาใช้ในบางศูนย์รักษามีบุตรยาก แต่ไม่สามารถเทียบกับ Embryoscope Plus ได้ เนื่องด้วยความพิเศษของตู้ Embryoscope Plus มีระบบAI (Artificial Intelligence) ที่เป็นตัวช่วยในการประเมินคุณภาพตัวอ่อนทำหน้าที่เสมือนนักวิทยาศาสตร์ แต่สามารถวิเคราะห์ได้ละเอียดลึกมากกว่าเนื่องจากมีการบันทึกและติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนทุกช่วงเวลา โดยฐานข้อมูลของระบบนี้ถูกรวบรวมจากศูนย์รักษามีบุตรยากทั่วโลกทั้งฝั่งยุโรปและเอเชีย ซึ่งการประเมินคุณภาพตัวอ่อนด้วยระบบAIสำคัญสำหรับแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของตัวอ่อนว่าตัวอ่อนตัวไหนแข็งแรงสมบูรณ์ดีที่สุดที่เหมาะจะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกให้กับคุณแม่เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่รอบแรกที่ย้ายตัวอ่อน

 

ศูนย์รักษามีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 3 ไม่เพียงให้ความสำคัญของการรักษา รวมทั้งมีทีมแพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงความเป็นอยู่ของตัวอ่อนเพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดจึงเลือกเลี้ยงตัวอ่อนในระบบปิดด้วยตู้ Embryoscope Plus ที่ตัวอ่อนถูกแยกเลี้ยงเป็นห้องและมี Barcode ระบุชื่อคุณแม่ของตัวอ่อนรายนั้นๆ เปรียบเสมือนพักอยู่ในคอนโดพรีเมี่ยมแบบ Penhouse

 

นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

 

นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงตัวอ่อน ได้รับการรับรองจาก Eshre ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อช่วยในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ตั้งแต่กระบวนการเก็บไข่จนพัฒนามาถึงตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก ทักษะเฉพาะทางที่ช่วยให้สามารถทำงานกับเซลล์ที่เปราะบางและละเอียดอ่อน อย่างสเปิร์มและไข่ได้ ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาและการบริการที่ดีที่สุด ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (Excellence Fertility Center)

 

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (Excellence Fertility Center)
ทุกเคสให้คำปรึกษาโดยสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาผู้มีบุตรยากที่มีประสบการณ์สูง

  • นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงตัวอ่อน ได้รับการรับรองจาก Eshre
  • ทีมพยาบาลให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง

 

นัดหมายหรือสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร. 02-467-1111 ต่อ 3266 – 3267

https://www.facebook.com/phyathai3efc

 


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...