ศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคหืด
ศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคหืด โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้บริการปรึกษา ป้องกัน การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ติดตาม ประเมินผล และรักษาอาการภูมิแพ้อย่างรอบด้าน โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านภูมิแพ้และโรคหืดในการดูแลอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาที่พร้อมให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการฟื้นฟูด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้
1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2. ไม่ค่อยสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน
3. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้
4. ไม่ค่อยถูกแสงแดด ทำให้ขาดวิตามินดี
อาการของโรคภูมิแพ้
1. จาม คัดจมูก น้ำมูกไหลลงคอ
2. เป็นหวัดไม่ยอมหาย ไอ ไซนัสอักเสบบ่อยๆ
3. คันตา น้ำตาไหล ต้องขยี้ตาบ่อยๆ
4. ผื่นคัน ผิวหนังแห้ง โดยเฉพาะข้อศอก ข้อพับ หัวเข่า และตามลำตัวในเด็ก
5. ลมพิษ
6. หอบหืด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกร่วมกับไอมาก
7. แพ้อาหาร แมลงต่อย
ภาวะของโรคภูมิแพ้
- โรคลมพิษ
- โรคผื่นแพ้ผิวหนัง
- โรคหอบหืด
- โรคโพรงจมูกอักเสบ
- โรคไซนัสอักเสบ
- โรคริดสีดวงจมูก
- โรคแพ้อาหาร
- แพ้ยา
- โรคภูมิแพ้ทางตา
- โรคภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง
การให้บริการของศูนย์ภูมิแพ้และโรคหืด ครอบคลุม
- การตรวจการแพ้สารก่อภูมิแพ้ ทั้งแบบสะกิดทางผิวหนังและการเจาะเลือด และส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้โดยละเอียด (Component-resolved diagnostics) มากถึง 295 ชนิด
- การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้ (Allergen immunotherapy)
- การทดสอบการแพ้อาหารโดยการรับประทาน (Oral food challenge)
- การทดสอบการแพ้ยาทั้งการตรวจทางผิวหนัง การรับประทาน การฉีดผ่านหลอดเลือด
- การรักษาด้วยยาชีวโมเลกุล ( Biologic drug)
- การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอาการไอเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคหืด เพื่อให้การรักษาอย่างถูกวิธี
- การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษเรื้อรัง และวางแนวทางการรักษา
- ภูมิแพ้จากไรฝุ่น ภูมิแพ้ไรฝุ่น รักษาได้ด้วยการใช้วัคซีน | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากโลหะนิกเกิล ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากโลหะนิกเกิลที่เราควรรู้ | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) คัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหล ในโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE (Systemic Lupus erythematosus) หรือ Lupus โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE (Systemic Lupus erythematosus) หรือ Lupus | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ หรือ ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เอาชนะได้เมื่อรักษาอย่างถูกวิธี | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic eczema) โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com)
- โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคหืด
การตรวจวินิจฉัยโรคภูมิแพ้และโรคหืด
โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับระบบต่างๆ ที่สารก่อภูมิแพ้ไปกระตุ้น โดยทั่วไปเมื่อเกิดอาการภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักจะรับประทานยาแก้แพ้เพื่อลดอาการ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยทราบเลยว่าตัวเองนั้นมีอาการแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดอย่างแน่ชัด แนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ถูกต้องนั้น ผู้ป่วยควรทราบก่อนว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง เช่น เกสร ดอกไม้ ขนสัตว์ ไรฝุ่น อาหาร ยา แมลงชนิดต่างๆ เพื่อทำการหลีกเลี่ยงและทำการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมอาการและโรคทำได้ดีขึ้น ในปัจจุบันเราสามารถทำการทดสอบโรคภูมิแพ้ได้ทั้งทางผิวหนังและการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ (Specific IgE Antibodies)
- การทดสอบทางผิวหนัง
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง โดยการสะกิดผิว และนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิ เช่น ไรฝุ่น เกสร เชื้อรา แมลง และอาหาร มาทำการทดสอบที่ผิวหนัง เพื่อให้ทราบว่าแพ้สารใด ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 20 นาที
- การเจาะเลือดตรวจทางอิมมูโนวิทยา
การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด ซึ่งเป็นการตรวจในบางภาวะที่ไม่สามารถตรวจทดสอบผิวหนังได้ เช่น กลุ่มคนที่มีประวัติแพ้รุนแรงถึงช็อกได้ หรือกลุ่มคนที่มีผื่นมาก และไม่มีผิวหนังปกติมากพอที่จะทำการทดสอบทางผิวหนังได้ ซึ่งเป็นอีก 1 ทางเลือกในการทดสอบในเด็กเล็กที่ไม่สามารถสะกิดผิวได้ แต่การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือดจะใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากต้องส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
- การทำ oral food challenge
เป็นการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปลอดภัย โดยแพทย์จะให้เด็กรับประทานอาหารที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ด้วยชนิดและปริมาณที่เหมาะสม ค่อยๆ ให้เด็กรับประทานในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงจะทราบแน่ชัดว่าเด็กแพ้อาหารชนิดนั้นๆ หรือไม่ และหากมีอาการแพ้ จะดูว่าอาการแสดงเป็นลักษณะใด รุนแรงแค่ไหน มีอาการแพ้ที่ปริมาณอาหารเท่าไหร่ เพื่อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัว นัดติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมต่อไป
การรักษาโรคภูมิแพ้
- การรักษาด้วยยา ในปัจจุบันยาในการรักษาภูมิแพ้มีประสิทธิภาพสูง และสามารถใช้ได้ทั้งชนิดรับประทาน และชนิดพ่นทางจมูก
- การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
- การอมใต้ลิ้น (Sublingual immunotherapy) มีใช้เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้ต่อไรฝุ่น “วัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นชนิดเม็ดสำหรับอมใต้ลิ้น” รักษาภูมิแพ้ที่มีสาเหตุจากการแพ้ไรฝุ่น | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com) เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อย สามารถใช้แทนยาฉีดได้ โดยพบว่าผลการรักษาใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีนภูมิแพ้
- การฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneous immunotherapy) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทดสอบแล้วพบว่าแพ้มากกว่า 1 ชนิด จะเป็นการฉีดสารที่แพ้ที่เป็นสาเหตุได้มากกว่า 1 ชนิด เข้าใต้ผิวหนังทีละน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณและยืดระยะเวลาออกไปจากทุกสัปดาห์ของเดือน เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ วิธีนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ได้ เนื่องจากเป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปในร่างกาย
แนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้
ผู้ป่วยควรทราบก่อนว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ไรฝุ่น อาหาร ยา แมลงต่างๆ เพื่อการหลีกเลี่ยงและทำการรักษาที่ถูกต้องตรงจุด ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมอาการและโรคทำได้ดีขึ้น ในปัจจุบันเราสามารถทำการทดสอบโรคภูมิแพ้ได้ทั้งทางผิวหนังและการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ (Specific IgE Antibodies)
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยการสะกิดผิว และนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิ เช่น ไรฝุ่น เกสร เชื้อรา แมลง และอาหาร มาทำการทดสอบที่ผิวหนัง เพื่อให้ทราบว่าแพ้สารใด ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 20 นาที
การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด ซึ่งเป็นการตรวจในบางภาวะที่ไม่สามารถตรวจทดสอบทางผิวหนังได้ เช่น กลุ่มคนที่มีประวัติแพ้รุนแรงถึงช็อกได้ หรือกลุ่มคนที่มีผื่นมาก และไม่มีผิวหนังปกติมากพอที่จะทำการทดสอบทางผิวหนังได้ ซึ่งการเจาะเลือดตรวจเป็นอีก 1 ทางเลือกในการทดสอบในเด็กเล็กที่ไม่สามารถสะกิดผิวได้ แต่การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือดจะใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากต้องส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ
เป็นการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปลอดภัย โดยแพทย์จะให้เด็กรับประทานอาหารที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ด้วยชนิดและปริมาณที่เหมาะสม ค่อยๆ ให้เด็กรับประทานในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงจะทราบแน่ชัดว่าเด็กแพ้อาหารชนิดนั้นๆ หรือไม่ และหากมีอาการแพ้ อาการแสดงจะเป็นลักษณะใด รุนแรงแค่ไหน มีอาการแพ้ในปริมาณอาหารมากน้อยแค่ไหน เพื่อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัว ทำการรักษา และนัดติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมต่อไป
การรักษาโรคภูมิแพ้และโรคหืด
- การรักษาด้วยยา ในปัจจุบันยาในการรักษาภูมิแพ้มีประสิทธิภาพสูง และสามารถใช้ได้ทั้งชนิดรับประทาน และชนิดพ่นทางจมูก
- การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
1. การอมใต้ลิ้น (Sublingual immunotherapy) อ่านเพิ่มเติม มีใช้เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้ต่อไรฝุ่น เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อย สามารถใช้แทนยาฉีดได้ โดยพบว่าผลการรักษาใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีนภูมิแพ้
2. การฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneous immunotherapy) อ่านเพิ่มเติม เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทดสอบแล้วพบว่าแพ้มากกว่า 1 ชนิด จะเป็นการฉีดสารที่แพ้ที่เป็นสาเหตุได้มากกว่า 1 ชนิด เข้าใต้ผิวหนังทีละน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณและยืดระยะเวลาออกไปจากทุกสัปดาห์ของเดือน เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ วิธีนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เนื่องจากเป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปในร่างกาย
ทีมแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลโรคภูมิแพ้และโรคหืด
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |