เพราะการรักษาโรคไทรอยด์ให้ได้ผลดี ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขาวิชา พร้อมด้วยเครื่องมือในการตรวจและรักษาที่ทันสมัย รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการดูแลตนเองได้
ด้วยเหตุผลนี้ การก่อตั้งศูนย์ไทรอยด์จึงเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การประเมินคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย สืบค้นโรค และให้การรักษาโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านไทรอยด์ และโรคทางต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ที่พร้อมให้คำปรึกษา และการตรวจรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำ และปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้รับบริการ พร้อมบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแลต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นมิตร มีการติดตามผลการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สร้างทีมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเชี่ยวชาญ และมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยไทรอยด์ พร้อมให้บริการรักษาโรคทางต่อมไร้ท่ออื่น ๆ รวมทั้งการจัดหาบุคลากรเพื่อนำไปใช้ประกอบการสอน และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีโอกาสศึกษาด้วยตนเอง
การบริการทางการแพทย์ ( Facility )
ศูนย์ไทรอยด์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ พร้อมประเมินภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย อาทิ
- การตรวจวินิจฉัยโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของต่อมหมวกไต พาราไทรอยด์และต่อมใต้สมอง
- การรักษาโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของต่อมหมวกไต พาราไทรอยด์และต่อมใต้สมอง
- การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของต่อมหมวกไต พาราไทรอยด์และต่อมใต้สมอง
- บริการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ เช่น โภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ
- พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ทันสมัย ( Quick Lab ) ลดระยะเวลาในการรอผลการตรวจวิเคราะห์
- ตรวจวิเคราะห์ค่าไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือด 1.5 ชม.
- ตรวจอัลตร้าซาวด์ไทรอยด์
- เจาะเนื้อเยื่อที่ก้อนบริเวณต่อมไทรอยด์ ( Fine needle aspiration )
- บริการให้การรักษาด้วยยา
- การตรวจวินิจฉัยโรคไทรอยด์และต่อมไร้ท่อเพื่อหาข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
- เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ( nodules ) ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง
- ต่อมไทรอยด์ไต และมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
- ก้อนที่ไทรอยด์กดหลอดลม
- มีเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์หลังจากการฉายแสงรังสีที่หน้า
- การรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถทำได้ 4 วิธี
- การผ่าตัดแบบเปิดบริเวณกลางลำคอ
- การผ่าตัดแบบเปิดบริเวณหลังใบหู
- การผ่าตัดด้วยกล้องบริเวณรักแร้ / หน้าอก
- การผ่าตัดแบบไร้แผลส่องกล้องทางช่องปาก
- บริการติดตามภาวการณ์ทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างต่อเนื่อง หลังให้การรักษาเสร็จสิ้น
“ความพร้อมของทีมแพทย์และเครื่องมือ” คือหัวใจสำคัญ
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข หากต่อมไทรอยด์ในร่างกายทำงานมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้สมรรถภาพการทำงานแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น น้ำหนักลด น้ำหนักเพิ่ม ใจสั่น อารมณ์หงุดหงิด เป็นต้น บ่อยครั้งอาการดังกล่าวคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ทำให้การวินิจฉัยเกิดความคลาดเคลื่อนได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า “ทำไมผู้ป่วยควรได้รับการตรวจไทรอยด์” ภายใต้ความพร้อมของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย