ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ icon

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา โดยทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและการบริการที่ครบวงจรรวมถึงความมุ่งมั่นให้บริการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนภาคตะวันออก

การบริการ

  • บริการให้คำปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับ
  • ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติและโรคในระบบทางเดินอาหารและตับ
  • ตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นโดยการส่องกล้อง ( Esophagogastroduodenoscopy )
  • ตรวจลำไส้ใหญ่โดยการส่องกล้อง ( Colonoscopy )
  • ตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ( หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร )
  • ตรวจทวารหนักโดยการส่องกล้อง ( Procfoscopy )
  • ตรวจความผิดปกติในทางเดินอาหารโดยการตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติ ( Poly pectomy )
  • ตรวจหาเชื้อ Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหารโดยการส่องกล้อง
  • ตรวจหาเชื้อ Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหารโดยการส่องกล้องและใช้วิธี Urea Breath Test ตรวจทางลมหายใจ ( เชื้อ Helicobacter Pylori เป็นเชื้อที่พบอยู่ในกระเพาะอาหารและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร )
  • หัตถการสำหรับใส่สายให้อาหารในส่วนกระเพาะโดยการส่องกล้อง ( ไม่ต้องผ่าตัด ) ( Percutaneous Endoscopic Gastrostomy )
  • ตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินน้ำดีโดยการส่องกล้องและการฉีดสีเพื่อตรวจหาความผิดปกติในท่อน้ำดี มะเร็งท่อน้ำดี ( Diagnostic ERCP )
  • ตรวจรักษาโรคท่อน้ำดี ได้แก่ โรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคนิ่วในท่อน้ำดี โดยการส่องกล้อง ( Therapeutic ERPC )
  • ตรวจวินิจฉัยโรคตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี
  • ตรวจวินิจฉัยโรคตับอักเสบทุกชนิด
  • ตรวจวินิจฉัยโรคตับแข็ง
  • ตรวจรักษาโรคไขมันคั่งสะสมในตับ
  • ตรวจรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ
  • ตรวจรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี ท่อน้ำดีอักเสบ
  • การให้บริการฉีดวัคซีนโรคตับอักเสบ A และ B

โรคระบบทางเดินอาหารและตับ มีมากมายและที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรคระบบทางเดินอาหาร
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic Ulcer )
  • โรคลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis )
  • โรคมะเร็งลำไส้ ( Colonic Cancer )
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric Cancer )
  • โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer )
  • โรคมะเร็งทวารหนัก ( Rectal Cancer )
  • โรคลำไส้แปรปรวน ( Chronic Irritable Bowel Syndrome )
  • ท้องผูกเรื้อรัง ( Constipation )
  • โรคกรดไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร ( GERD )
  • โรคตับ ( Liver disease )
  • โรคตับแข็ง ( Cirrhosis )
  • โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ( Chronic Viral Hepatitis )
  • โรคมะเร็งตับ ( Hepatocelluar carocinoma )
  • โรคมะเร็งในท่อน้ำดี ( Cholangio-Carcinoma )
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstones )
  • โรคท่อน้ำดีอักเสบ ( Cholangitis )

อาการที่สังเกตได้และควรมาพบแพทย์ทันที

  • กลืนอาหารลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ
  • มีอาการแสบ จุกแน่นหน้าอก
  • อาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน
  • ถ่ายอุจจาระผิดปกติ บางครั้งท้องผูก บางครั้งท้องเสีย
  • มีไข้และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ถ่ายอุจจาระเป็นมูก
  • ถ่ายอุจจาระผิดปกติในผู้สูงอายุ
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง

วิธีการตรวจรักษา

  • ตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง
  • ตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยการส่องกล้อง
  • ตรวจการบีบตัวของทางเดินอาหาร
  • ทางเดินอาหารส่วนต้น ( หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร )
  • ทางเดินอาหารส่วนปลาย ( ลำไส้ใหญ่ )
  • ตรวจท่อน้ำดี และท่อตับอ่อน

เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์

  • ศูนย์ตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้อง
  • เครื่อง MRI ( เครื่องวินิจฉัยด้วยสนามแม่เหล็กความเข้มสูง )
  • เครื่อง PT Test ( เครื่องเป่าแบคทีเรีย )
  • กล้องส่องทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน
  • กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่
  • เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ( CT Scan )
  • เครื่องอัลตร้าซาวด์
  • ห้องส่องกล้อง 4 ห้อง
  • การตรวจทางห้องปฎิบัติการ

การเตรียมตัวในการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ( Gastroscopy )

  • ต้องงดน้ำและอาหาร ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันก่อนตรวจ
  • ในวันนัดตรวจห้ามรับประทานอาหารเช้า ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มใด ๆ
  • ในกรณีที่ให้ยาระงับประสาททางสายน้ำเกลือ หรือดมยาสลบ เพื่อเวลาตรวจคนไข้จะรู้สึกสบายไม่มีความเจ็บปวด แต่หลังจากการตรวจคนไข้อาจง่วงได้ หลังจากนอนพักระยะหนึ่งแล้วจึงกลับบ้านได้

การเตรียมตัวในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ( Colonoscopy )

  • การตรวจลำไส้ใหญ่ให้ได้ผล จะต้องเตรียมลำไส้ใหญ่ให้สะอาดที่สุดไม่มีเศษอาหาร หรืออุจจาระบัง และถ้าหากพบความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้องอก อาจต้องตัดออก ดังนั้นการเตรียมลำไส้ มีความสำคัญมากและต้องปฎิบัติดังนี้
  • ต้องรับประทานยาระบายตามที่แพทย์สั่ง หลังรับประทานยาระบายแล้วไม่ควรเดินทางไปไหนมาไหน เพราะจะปวดถ่ายอุจจาระ
  • ก่อนทำการตรวจ 1 วัน ควรได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับอาหารจากแพทย์ผู้ทำการตรวจ
  • วันที่นัดตรวจ ต้องไม่รับประทานอาหารเช้าและไม่ดื่มน้ำ ไปถึงโรงพยาบาลตามเวลานัดในการตรวจ
  • ในกรณีที่มีการให้ยาระงับประสาททางสายน้ำเกลือ หรือดมยาสลบ เพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายไม่มีความเจ็บปวด และหลังจากการตรวจคนไข้อาจง่วงได้ หลังจากตรวจเสร็จให้พักระยะหนึ่งจนตื่นดี แล้วจึงกลับบ้านได้
Loading...


Loading...
Loading...
Loading...