นพ. อมร จงสถาพงษ์พันธ์
นพ. อมร จงสถาพงษ์พันธ์
ความชำนาญ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
สาขา
ข้อมูลทั่วไป
“การเป็นนักคิดและชอบศึกษาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคนิคการรักษา สิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย”
รักษาเต็มความสามารถ ขอแค่คนไข้ปลอดภัย. . ได้กลับไปอยู่กับครอบครัว
หลังจากเรียนจบแพทย์จากจุฬาลงกรณ์ คุณหมอก็ได้รับหน้าที่เป็นแพทย์ในแผนกฉุกเฉินตลอดเวลา ทำให้คุณหมอเป็นคนกระตือรือร้นและมีความเป็นนักคิด ชอบค้นคว้า ศึกษาความรู้ใหม่ๆ และเทคนิคการรักษาจากในต่างประเทศ นับเป็นข้อดีและส่งประโยชน์โดยตรงต่อคนไข้ เพราะช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ทุ่มเทกับทุกครั้งของการรักษา เพราะอยากเห็นคนไข้ปลอดภัย
คุณหมอได้เข้ามาเป็นแพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ทำหน้าที่อายุรแพทย์โรคหัวใจ และแพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจมานานกว่า 10 ปี ประสบการณ์นี้ทำให้พบเจอคนไข้หลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรงและฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกมาในช่วงเวลากลางคืน โดยเป็นเช่นนี้เกือบทุกๆคืน และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ราว 300 รายต่อปี
คุณหมอมักต้องตื่นกลางดึก เพื่อเดินทางมารักษาคนไข้ฉุกเฉินในเวลาที่คนส่วนใหญ่กำลังพักผ่อน ซึ่งไม่เคยมีคำบ่นออกมาจากคุณหมอเลยสักครั้ง และมาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เพราะการช่วยชีวิตให้คนไข้รอดปลอดภัยกลับไปอยู่กับครอบครัวที่รอคอยอยู่นั้นมีค่ามากกว่าสิ่งใดๆ และคุณหมอเองก็เป็นคุณพ่อ ทำให้เข้าใจเรื่องนี้ดี เข้าใจว่า “ครอบครัว” สำคัญแค่ไหน และด้วยความที่เป็นคนทุ่มเท มีน้ำใจ ทำให้คุณหมอเป็นที่รักของคนไข้และญาติ รวมถึงเพื่อนร่วมงาน
เพราะโรคหัวใจมักมาพร้อมกับโรคประจำตัวอื่น “ความชำนาญของแพทย์” จึงเป็นสิ่งสำคัญ
“คุณมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ จำเป็นต้องได้รับการสวนหัวใจ” นอกจากคำพูดเหล่านี้ที่สร้างความกังวลให้กับผู้ป่วยและญาติแล้ว การที่ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่มักจะมีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น การรักษายิ่งต้องใช้ความชำนาญประกอบกับต้องใช้ความระมัดระวังในทุกขณะที่ทำการสวนและขยายหลอดเลือด โดยผู้ป่วยกว่า 90 % จำเป็นต้องได้รับการฉีดสีเพื่อนำสารทึบแสงเข้าไปเพิ่มความชัดเจนในการวินิจฉัยตำแหน่งหลอดเลือดที่มีปัญหา อย่างกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องไต. . . การรับสารทึบรังสีเป็นจำนวนมากจะยิ่งเสี่ยงอันตรายมากกว่าคนอื่นๆ ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพจึงได้ร่วมกันคิดค้นด้านงานวิจัย ในเรื่องการลดสารทึบรังสีเข้าสู่ตัวผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการสวนหัวใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารทึบรังสีน้อยที่สุด
การศึกษา
- 2534 – 2540 แพทยศาสตร์บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2543 – 2547 Internal medicine resident, King Chulalongkorn memorial hospital
- 2545 – 2546 Chief of Internal medicine resident, King Chulalongkorn memorial hospital
- 2546 – 2548 Emergency medicine staff, King Chulalongkorn memorial hospital
- 2548 – 2550 Cardiology fellow, Siriraj Hospital
- 2550 – 2551 Interventional cardiology fellow, Siriraj Hospital
ตารางออกตรวจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ
คลินิก ตรวจสุขภาพ
คลินิก โรคหัวใจ