นพ. ชวาลวุฒิ เติมตะนันทน์

นพ. ชวาลวุฒิ เติมตะนันทน์

นพ. ชวาลวุฒิ เติมตะนันทน์


ความชำนาญ
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ข้อสะโพกและข้อเข่า (Hip & Knee)
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“คนไข้บางคนพอเขาได้รับการรักษาด้วยการทำ PRP (การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น) เพื่อการลดปวดเรื้อรัง ก็อาการดีขึ้น วิธีนี้เป็นการรักษาที่ตอบโจทย์ผู้ป่วยได้จริง และโอกาสเกิดผลข้างเคียงก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ เรียกได้ว่าเป็นการเปิดประตูสู่การรักษาด้วยวิธีใหม่ๆ ซึ่งตั้งต้นมาจากความที่หมอพบเจอ และรักษาคนไข้ที่มีอาการแตกต่างหลากหลาย การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ผสมผสานกับองค์ความรู้เดิม และการทุ่มเทที่อยากให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด หมอจึงใช้ 3 อย่างนี้ มาตั้งโจทย์ในการดูแลคนไข้ เพื่อการรักษาที่ตรงจุด และได้ประสิทธิภาพสูงสุด”

 

นพ.ชวาลวุฒิ เติมตะนันทน์ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และหลังจากใช้ทุนแพทย์เรียบร้อยแล้ว คุณหมอได้ศึกษาต่อวุฒิบัตรศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ จากนั้นได้ต่อยอดอนุสาขาศัลยกรรมข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คุณหมอได้เล่าถึงแรงบันดาลใจและประสบการณ์ในการศึกษาว่า…

 

“การที่หมอเป็นแพทย์ใช้ทุน 2 รอบ รวม 7 ปี คือทั้งตอนจบแพทย์ทั่วไป และจบแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ทำให้ได้สัมผัสเคสที่หลากหลาย และมีประการณ์ในการดูแลรักษาคนไข้ด้านกระดูกและข้อค่อนข้างมากและต่อเนื่อง การได้เห็นเคสคนไข้ที่มีความทุกข์ยากลำบากกับตัวโรคค่อนข้างชัดเจน คือสังเกตได้จากท่าเดินตั้งแต่คนไข้เข้ามาเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หมอชอบวิเคราะห์คนไข้ และอยากรักษาให้เขาหายดี ด้านนวัตกรรมการรักษาข้อเข้า ข้อสะโพก ปัจจุบันก็มีการพัฒนาค่อนข้างเยอะ การทำหัตถการก็มีแบบแผนการผ่าตัดอย่างชัดเจน สามารถคาดการณ์ถึงผลสำเร็จในแต่ละเคส หมอก็เลยเลือกเส้นทางนื้ เน้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และข้อสะโพกเทียมมาตั้งแต่ตอนเป็นแพทย์ใช้ทุน ในตอนนั้นก็ได้ฝึกใช้ทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำอัลตราซาวด์ รวมถึงการรักษาระงับอาการปวดจากการฝังเข็มด้วย”

 

เทคนิครักษา ด้วยการทำ PRP ควบคู่อัลตราซาวด์

ในขณะที่คุณหมอกำลังศึกษาต่อด้านการผ่าตัดข้อเข่าข้อสะโพก ได้เริ่มมีนวัตกรรมการรักษากระดูกด้วยการทำ PRP (การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น) เข้ามา คุณหมอก็เริ่มศึกษาจากงานวิจัยต่างๆ และนำมาใช้รักษาคนไข้อย่างจริงจัง รวมทั้งได้พัฒนาเป็นความรู้ใหม่ที่ใช้ร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นการจับคู่วิธีรักษา คุณหมอบอกว่า ในงานวิจัยส่วนใหญ่พบว่า ตัว PRP จะได้ผลกับคนไข้ในบางกลุ่ม และการตอบสนองต่อการรักษาในแต่ละรายต่างกัน ต้องพิจารณากันเป็นรายบุคคล คือจะต้องทำความเข้าใจลักษณะอาการของคนไข้ในแต่ละเคสให้ถ่องแท้ ให้เวลากับคนไข้ และตรวจโดยละเอียด…

 

“เมื่อว่ากันตามทฤษฎีแล้ว การรักษาด้วยเทคนิคการทำอัลตราซาวด์ร่วมกับนวัตกรรม PRP นับว่าได้ผลดี แต่เราจะทำอย่างไรให้การฉีด PRP นั้นดีขึ้น เฉียบคมมากขึ้น รวมถึงการเลือกเคสที่เหมาะสมและฉีดได้ตรงตำแหน่งอย่างแม่นยำขึ้น หมอจึงต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้ตำแหน่งของการฉีดยาแม่นยำในระดับมิลลิเมตรร่วมกับการที่ใช้อัลตราซาวด์เข้ามาช่วย”

 

คุณหมอสรุปว่า การพยายามแก้ปัญหาให้กับคนไข้ ให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ โดยเฉพาะเรื่องของการฉีดยาเฉพาะจุดที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิผลดี เป็นหนึ่งทางเลือกที่ต้องพิจารณาให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล การให้ข้อมูลการรักษากับคนไข้ ต้องให้คนไข้กระจ่างแจ้งกับทางเลือก รู้ครบถึงผลการรักษา ข้อดีข้อเสีย ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจกระบวนการแต่ละขั้น ให้มีเวลาทบทวนในการเลือกวิธีรักษาด้วย

 

ทบทวนทุกการรักษา พัฒนาเพื่อคนไข้

คุณหมอชวาลวุฒิ จะใช้เวลาว่างหลังการทำงาน หลังผ่าตัดเสร็จ หรือหลังการออกตรวจคนไข้ ในการทบทวน วิเคราะห์ผลการรักษา และวางแนวทางการรักษาๆ ให้กับคนไข้อย่างต่อเนื่อง บางเคสคุณหมอจะใช้วิธีติดต่อสอบถามความคืบหน้าอาการต่างๆ ของคนไข้ด้วยตัวเอง สิ่งนี้คือการสะท้อนถึงความทุ่มเทในการดูแลคนไข้ที่คุณหมอบอกว่า…

 

“การทุ่มเท 100 % คือสิ่งที่เราจะช่วยคนไข้ได้มากขึ้น เมื่อเราเริ่มต้นด้วยการทุ่มเท ความสำเร็จจะตามมาเอง หมอคิดว่าการรักษาโรคทุกโรคจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ ทั้งการคุยกับคนไข้ การตรวจร่างกาย รวมถึงการหาข้อมูลความรู้ใหม่ๆ มาใช้เสริมการรักษาเพื่อให้ผลลัพธ์ดีขึ้นเรื่อยๆ บวกกับการเพิ่มวิธีคิด วิธีรักษาที่แตกต่างได้มาจากการพูดคุยปรึกษากับแพทย์ในทีมด้วย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในแบบของเราได้”

 

เพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุด คุณหมอชวาลวุฒิ จึงพัฒนาตนเองด้วยการอ่าน ทั้งบทความวิชาการและเอกสารทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ การดูแลรักษาคนไข้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การได้แก้ปัญหารักษาให้คนไข้หายดี คือความสุขที่คุณหมอบอกว่า…

 

“รางวัลที่หมอทุกคนอยากได้ คือคนไข้ของเราหายดี หายจากความเจ็บป่วย แค่นี้ก็หมอยิ้มได้แล้ว”


  • 2544 – 2550 แพทยศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.รามาธิบดี
  • 2553 – 2557 แพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์, รพ.พระมงกุฏเกล้า

ตารางออกตรวจ

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(08:00 - 12:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(08:00 - 12:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(08:00 - 12:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(08:00 - 12:00)
Loading...
Loading...