
นพ. พัฒนา เต็งอำนวย
นพ. พัฒนา เต็งอำนวย
ข้อมูลทั่วไป
กว่า 20 ปี ของการเป็นแพทย์อายุศาสตร์โรคไต ดร.นพ. พัฒนา เต็งอำนวย สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2529 และได้เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแห่งแรกนาน 4 ปี จนสำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรอายุรศาสตร์ทั่วไป ในปี 2533 ก่อนจะกลับมาทำงานที่หน่วยโรคไต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีก 2 ปี ซึ่งคุณหมอยังได้ศึกษาต่อวุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคไต โดยสำเร็จการศึกษาในปี 2535 ปัจจุบันคุณหมอพัฒนาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต และเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่ รพ. พญาไท 2
สู่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
นอกจากความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคไตแล้ว คุณหมอพัฒนายังได้ศึกษาต่อทางด้านชีววิทยาของเซลล์ (Molecular Cell Biology) ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟลอริด้า (College of Medicine, University of Florida) โดยได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Ph. D.) ทางด้านชีววิทยาของเซลล์ (Molecular Cell Biology) ในปี 2554
นอกเหนือจากบทบาทแพทย์แล้ว คุณหมอพัฒนายังดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นกรรมการเซลล์บำบัดและฟื้นฟูสภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เป็นที่ปรึกษาสมาคมคีเลชั่นไทยและสมาคมเซลล์บำบัดไทย เป็นอุปนายก A4M Thailand รวมทั้งได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรจากสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้ทุนคนเข้าถึงหัวใจในการรักษาทุกโรค ด้วยเคล็ดลับชะลอวัย
ทุกครั้งที่มีโอกาส คุณหมอพัฒนามักจะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการ ‘ชะลอวัย’ ว่า ‘ทำอย่างไรไม่ให้แก่’ กับคนไข้และบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความสุขภาพผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ หรือเมื่อเป็นวิทยากรบรรยาย คุณหมอก็จะสอดแทรกเรื่องราวเหล่านี้เสมอ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรักษาแบบองค์รวม ซึ่งเหมือนเป็นการรักษาโรคที่ต้นทางที่ทุกคนทำได้ คุณหมอยังฝากเคล็ดลับการดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการว่า…
“หัวใจสำคัญที่จะไม่แก่ ไม่ตายเพราะเบาหวาน คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรักษาเบาหวานไม่ใช่แค่การใช้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์แบบองค์รวม ทั้งการดูแลเรื่องไขมัน ความดันโลหิต และควบคุมน้ำหนักตัวด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอดี เน้นจำพวกผักหลากสี อาหารที่มีกากใยสูงและมีน้ำตาลต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารจำพวกแป้ง ที่สำคัญคือการดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เคล็ดลับเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้กับคนทั่วไปที่อยากเป็นเจ้าของสุขภาพที่แข็งแรง ไม่แก่ก่อนวัย ตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัยได้อีกด้วย”
การศึกษา
- 2523 – 2529 แพทยศาตร์บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2526 – 2529 แพทย์ประจำบ้านอายุรศาตร์, ม.ขอนแก่น
- 2533 – 2535 อายุรศาสตร์โรคไต, รพ.จุฬาลงกรณ์
- 2541 – 2541 Phd Cell Biology, University of Florida
ตารางออกตรวจ
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป
คลินิก อายุรกรรมทั่วไป