ทพ. พงศ์รพี กมลรุ่งวรากุล

ทพ. พงศ์รพี กมลรุ่งวรากุล

ทพ. พงศ์รพี กมลรุ่งวรากุล


ความชำนาญ
ทันตกรรม
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ทันตกรรมประดิษฐ์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“ทันตกรรมประดิษฐ์จะมีความคล้ายกับการทำงานของวิศวกรและเป็นสถาปนิกไปในตัวนอกจากทันตแพทย์จะมีหน้าที่เสมือนวิศวกรออกแบบโครงสร้างเพื่อให้ฟันแข็งแรงยังต้องเป็นสถาปนิกที่สามารถตกแต่งให้สวยงามได้ด้วย”

ทพ. พงศ์รพี กมลรุ่งวรากุลทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและปริญญาโทสาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล และทันตกรรมรากเทียม Center Implantfor Dentistry, Loma Linda University จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญในการทำทันตกรรมประดิษฐ์ ได้แก่ ฟันปลอมทั้งชนิดถอดได้และติดแน่น สะพานฟัน ครอบฟัน และการรักษารากเทียม

แรงบันดาลใจ. . ในการเลือกศึกษาด้านทันตกรรมรากเทียม

คุณหมอพงศ์รพี เล่าว่า. . เริ่มให้ความสนใจกับทันตกรรมประดิษฐ์ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากได้รับคำแนะนำที่ดีจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการทำฟันปลอมและเรียนรู้เรื่องการทำรากเทียมให้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเทรนด์การรักษาที่เทคโนโลยีในต่างประเทศกำลังก้าวหน้าและเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันในปัจจุบัน เมื่อได้เห็นผลงานของอาจารย์ Joseph Kan แพทย์ชั้นครูจากต่างประเทศที่มาบรรยายในประเทศไทย การเน้นทั้งความละเอียดในการผ่าตัดและความสวยงามในการออกแบบฟัน รวมถึงศิษย์เอกของอาจารย์ที่ไปศึกษาต่อที่ Loma Linda คือ พี่เพ็ชร อุ่นแพทย์ รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยที่เปรียบเสมือนพี่ชาย จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้ตัดสินใจไปเรียนต่อเพื่อกลับมาเป็นทันตแพทย์ด้านทันตกรรมรากเทียมในประเทศไทย

สั่งสมประสบการณ์จากทุกการเรียนรู้

ในระหว่างที่ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา คุณหมอพงศ์รพีบอกว่า ประสบการณ์ทุกๆ อย่างในห้องเรียนคือสิ่งที่ช่วยให้พัฒนาฝีมือได้เร็วมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีในการรักษาที่ช่วยให้ทั้งระบบการเรียนและการรักษาเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น

“ตอนไปสหรัฐอเมริกาผมไปเรียนต่อด้านรากเทียมโดยเฉพาะ การเรียนในทุกวันและตลอดทั้งวันจึงเจอแต่รากเทียม เพราะโดยปกติแล้วผู้ป่วยที่นั่นส่วนใหญ่เมื่อสูญเสียฟันไปเขาจะนึกถึงรากเทียมเป็นอันดับแรก น้อยคนนักที่จะนึกถึงฟันปลอม ต่างจากเมืองไทยที่ในตอนนั้นรากเทียมยังไม่เป็นที่นิยมมากและผู้ป่วยมักจะนึกถึงฟันปลอมมากกว่า ดังนั้นการไปเรียนต่อจึงทำให้ผมมีประสบการณ์จากการทำรากเทียมค่อนข้างเยอะเพราะว่าในแต่ละวันมีผู้ป่วยเยอะมาก นอกจากนี้ยังมีห้องผ่าตัดสำหรับทำรากเทียมโดยเฉพาะ ไม่ใช่แค่ห้องทำฟันทั่วไปและในเคสที่น่าสนใจจะมีการทำ Live Surgery ถ่ายทอดสดการผ่าตัดให้นักเรียนทันตแพทย์ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน”

รากเทียม ทางเลือกที่ใช่ในการทดแทนการสูญเสียฟัน

“ข้อเสียของฟันปลอมก็คือตัวฟันปลอมเราต้องถอดเข้าออก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองฟันหนาและมีความรู้สึกรำคาญอยู่ตลอด ถ้าหากใส่สะพานฟันก็ต้องกรอฟันข้างหน้ากับข้างหลัง ซึ่งบางทีฟันซี่นั้นเป็นฟันที่ยังคุณภาพดีแต่กลับต้องกรอเนื้อฟันออกเพื่อให้ใส่สะพานฟันเข้าไปได้ และการทำสะพานฟันต้องดูแลรักษาความสะอาดมากเป็นพิเศษ ต้องร้อยไหมขัดฟันและมีเครื่องมือเฉพาะร้อยเข้าไปทำความสะอาดด้วย แต่รากเทียมถ้าผู้ป่วยสูญเสียฟันตรงไหนก็ฝังรากเทียมลงตรงนั้นเลย สามารถทำความสะอาดได้โดยใช้ไหมขัดฟันธรรมดา มีความแข็งแรง ติดแน่นกับกระดูกและใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมาก ฉะนั้นรากเทียมจึงถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่สูญเสียฟัน”

ทันตกรรมประดิษฐ์. . . ทักษะการออกแบบและตกแต่งฟัน

คุณหมอพงศ์รพี เล่าว่า “จริงๆ แล้วงานทันตกรรมประดิษฐ์จะมีความคล้ายกับการทำงานของวิศวกรและสถาปนิก นอกจากทันตแพทย์จะมีหน้าที่เสมือนวิศวกรออกแบบโครงสร้างเพื่อให้ฟันแข็งแรงแล้ว ยังต้องเป็นสถาปนิกที่สามารถตกแต่งให้สวยงามได้ด้วย ต้องได้ทั้งความสวยงามและได้ทั้งฟังก์ชั่นไปพร้อมๆ กัน และที่สำคัญคือต้องเหมาะสมกับงบประมาณของผู้ป่วยด้วย”

ใส่ใจในทุกขั้นตอนของการรักษา

หมอพงศ์รพีให้ความสำคัญกับความละเอียดอ่อนในการทำงาน เพราะเชื่อว่าการทำทันตกรรมประดิษฐ์ที่ดีจะต้องดีตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

ทันตกรรมประดิษฐ์คือการทำงานที่เราเจอผู้ป่วยเป็นคนสุดท้าย แล้วเราต้องมาติดตามผู้ป่วยหลังจากที่ทำเสร็จไปแล้ว ความยากของงานนี้คือเราต้องละเอียดในทุกขั้นตอน  เพราะถ้าทำไม่ดีตั้งแต่ขั้นตอนแรกแล้วจะไปหวังให้ดีในขั้นตอนสุดท้ายคงเป็นไปไม่ได้ ทันตแพทย์จึงต้องมีทั้งศาสตร์ที่เป็นความรู้และศิลปะในการตกแต่งตัวฟัน ต้องมีมุมมองในเรื่องของความสวยงาม และต้องฝึกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้งานออกมามีมาตรฐานที่ดี

โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาคุณหมอพงศ์รพีก็กลับมาทำงานให้กับโรงพยาบาลพญาไท 2 และในปัจจุบันนี้การรักษาด้วยรากเทียมในประเทศไทยก็เริ่มมีผู้ป่วยให้ความสนใจมากขึ้น เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยให้การรักษาง่ายและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นความพร้อมของการรักษารากเทียมในประเทศไทยในขณะนี้ก็นับว่าใกล้เคียงกับต่างประเทศพอสมควร


  • 2546 – 2552 ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, ม.มหิดล
  • 2554 – 2556 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตกรรมประดิษฐ์, ม.มหิดล
  • 2558 – 2558 Externship in Implant Dentistry, Loma Linda University USA
  • 2560 – 2560 Fellowship in Implant Dentistry, Loma Linda University USA

ไม่พบตารางนัดหมาย

กรุณาโทร 1772


Loading...
Loading...