นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส

นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส

นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส


ความชำนาญ
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

 

หัวใจสำคัญในการผ่าตัดรักษาข้อเข่าและข้อสะโพก คือคุณภาพการรักษา คนไข้ต้องกลับมาเดินและใช้ชีวิตได้ตามที่ควรจะเป็น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และเจ็บปวดน้อยที่สุดทั้งขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด

 

ในขณะศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) นั้นคุณแม่ของ นพ. พฤฒพงศ์ แสงจำรัส มีอาการปวดหลังอย่างมาก เมื่อได้ไปพบแพทย์ก็ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจนต้องทำการผ่าตัด ซึ่งก็ได้ความกรุณาจากอาจารย์แพทย์ที่สอนคุณหมออยู่เป็นผู้ทำการผ่าตัดให้ โดยผลการผ่าตัดสำเร็จได้ด้วยดี อาการปวดหลังของคุณแม่หายสนิท จนเรียกได้ว่าไม่เคยปวดหลังอีกเลย และใช้ชีวิตได้ตามปกติจนถึงปัจจุบัน นั่นคือความประทับใจที่ทำให้คุณหมออยากเป็น แพทย์ผู้ชำนาญการกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

 

 

ได้เห็น ได้ทำ ได้จดจำ. . . นำมาพัฒนาการรักษา

และด้วยการเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ยังตรงกับบุคลิกและธรรมชาติของคุณหมอที่มีความชอบในด้านวิศวกรรมมาอยู่ก่อน คือชอบในเรื่องของโครงสร้าง กลไก ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ และหากเปรียบเทียบว่ากระดูกเป็นโครงสร้างของร่างกายในทางการแพทย์ก็คงไม่ผิดนัก ในขณะเรียนแพทย์ในชั้นปีที่ 5 และ 6 การได้ฝึกหรือปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชุมชนจึงมักเลือกที่จะดูแลผู้ป่วยแผนกกล้ามเนื้อ กระดูกและข้ออยู่เสมอ ทำให้ได้เห็นการทำงานของอาจารย์แพทย์มากขึ้น ได้เห็นคนไข้ เห็นลักษณะของโรคและวิธีรักษาแบบต่างๆ ก็รู้สึกได้ว่าตรงกับสิ่งที่ตั้งปณิธานไว้

 

 

ศึกษาอนุสาขาข้อเข่าข้อสะโพก เพื่อความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้ง

หลังจากเป็นแพทย์ใช้ทุนเสร็จสิ้นแล้ว จึงเข้าศึกษาต่อที่ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ในขณะนั้นก็มีความสนใจในการผ่าตัดรักษาข้อเข่าและข้อสะโพกเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก เมื่อมีโอกาสจึงได้ศึกษาต่ออนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า การได้ศึกษา ฝึกฝน และสัมผัสใกล้ชิดกับอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์ มีความสามารถ และมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำงานและการผ่าตัด รวมถึงเทคนิคต่างๆ อย่างแจ่มชัด

 

 

คุณหมอบอกว่า “การเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยเฉพาะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้อสะโพก ประเด็นสำคัญของการรักษาคือให้คนไข้กลับมาเดินได้ดีและหายเจ็บปวด แพทย์จึงต้องมีความรู้ความชำนาญ และยังต้องมีความประณีตในการผ่าตัด มีความตั้งใจในการดูแลคนไข้และความแน่วแน่ในสิ่งที่ทำโดยไม่หยุดแค่ความรู้ปัจจุบัน การอ่านหรือการทำงานวิจัยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ทำให้รู้ว่าการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่าหรือไม่ การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติทั้งในเอเชียและยุโรป ก็เพื่อนำวิทยาการใหม่ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม ทั้งความรู้และประสบการณ์ก็จะหล่อหลอมให้เกิดเป็นความเชี่ยวชาญในการรักษา”

 

 

วิธีรักษาที่ดีสู่ผลการรักษาที่ดี

เช่น การผ่าตัดในปัจจุบัน จะไม่ใส่ท่อระบายเลือดดังสมัยก่อน เนื่องจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านงานวิจัยแล้วว่าไม่มีผลต่อการห้ามเลือด และรบกวนการฟื้นตัวของคนไข้ การควบคุมอาการปวดโดยใช้การบล็อคเส้นประสาทในจุดที่ไม่ส่งผลต่อการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดไวขึ้น การตรวจสารชีวภาพ ชื่อ Urine CTX-II หรือการตรวจ Ultrasound เพื่อตรวจสภาวะข้อเสื่อมก่อนมีอาการหรือก่อนเกิดความผิดปกติทาง X-ray การใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ อย่างการฉีด ACP หรือการใช้ Nanoneedle เพื่อลดการอักเสบข้อเข่า ชะลอการเสื่อม และกระตุ้นฟื้นฟูสภาพข้อเข่าโดยไม่ต้องผ่าตัด


  • 2543 – 2549 แพทยศาสตร์บัณฑิต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 2552 – 2556 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขา ออร์โธปิดิกส์, จาก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  • 2560 – 2561 อนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก , วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า

ตารางออกตรวจ

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(10:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(10:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(10:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(10:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(09:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(10:00 - 17:00)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)

คลินิกผู้ป่วยนอกศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

(07:30 - 16:30)
Loading...
Loading...