ศ. นพ. ธไนนิธย์ โชตนภูติ
ศ. นพ. ธไนนิธย์ โชตนภูติ
ศูนย์
ความชำนาญ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
สาขา
ข้อมูลทั่วไป
ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ ผ่าตัดด้วยใจ…จากแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้อสะโพก
อวัยวะในร่างกายของเราทุกส่วนล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกระดูกและข้อที่เกี่ยวเนื่องไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้นปัญหากระดูกและข้อก็เริ่มมีมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสําคัญที่เราต้องให้ความใส่ใจดูแล ดังนั้นแพทย์ที่จะมาดูแลปัญหากระดูกและข้อของเราจึงควรเป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญในการรักษา เพราะจะสามารถดูแลเราได้เป็นอย่างดี…
กว่า 20 ปีที่ ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม รพ.พญาไท 2 ได้สั่งสมประสบการณ์การดูแลรักษาผู้มีปัญหาโรคข้อเข่า โดยเฉพาะได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมาอย่างมากมายและยาวนาน จึงเป็นที่ไวใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด
ความเชี่ยวชาญและความชํานาญ…เกิดจากการลงมือทํา
ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อ จากมหาวิทยาลัยนีงะตะ (Niigata University of Japan) และผู้ก่อตั้งศูนย์ข้อเทียม โรงพยาบาลพญาไท 2 มีความชํานาญเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม รวมถึงการผ่าตัดข้อผ่านกล้อง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
จากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานเกินกว่า 20 ปี คุณหมอได้ทําการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมมาแล้วอย่างมากมาย หรือโดยเฉลี่ยราวปีละกว่า 700 ราย ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ คุณหมอได้ผ่านการฝึกฝนจนเป็นแพทย์ผู้ชำนาญกา โดยสามารถใช้ทักษะที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เมื่อรวมกับสถานที่ที่มีความพร้อมอย่างโรงพยาบาลพญาไท จึงทําให้การผ่าตัดในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ทำให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวัง
ใช้ประสบการณ์ที่สั่งสม…จนเกิดเป็นวิธีผ่าตัดที่เสียเลือดน้อยหรือแทบไม่เสียเลือดเลย
เมื่อมีการผ่าตัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือ “การเสียเลือด” แต่ด้วยการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทําให้ปัจจุบันคุณหมอสามารถลดการเสียเลือดระหว่างทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียมได้สูงถึง 50-80 เปอร์เซ็นต์ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ การควบคุมความเจ็บปวดจากการผ่าตัดที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทําให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตได้เร็วขึ้น โดยวิธีที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน คือการให้ยาระงับปวดทางไขสันหลัง (บล็อกหลัง) ร่วมกับการใช้ยาชาเฉพาะที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเส้นประสาทต้นขา หรือฉีดยารอบบริเวณเข่าข้างที่ทำการผ่าตัด ซึ่งล้วนแต่ช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี จนทําให้ภายใน 1-2 วันหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถฝึกยืน เดิน และทำกายภาพบําบัดได้โดยแทบไม่มีอาการเจ็บปวดไปรบกวน โดยภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็จะกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ กล่าวว่า “ขึ้นชื่อว่าผ่าตัด ย่อมสร้างความกังวลใจให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เหตุนี้เองจึงก่อให้เกิดคําถามในใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผ่าแล้วจะเจ็บมากไหม หลังผ่าตัดจะเดินได้เหมือนเดิมหรือไม่ จะต้องพักฟื้นนอนโรงพยาบาลนานแค่ไหน ซึ่งข้อมูลที่ผู้ป่วยได้รับจากคนทั่วไปอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก จึงยิ่งทำให้เกิดความกังวลและพยายามหลีกเลี่ยงการผ่าตัด ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้ให้อาการลุกลามมีแต่จะยิ่งส่งผลเสีย
และถึงแม้ว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกจะเป็นหัตถการที่ซับซ้อน แต่ปัจจุบันก็มีทางเลือกในการผ่าตัดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และกลับมาเดินได้ดีอีกครั้ง ซึ่งองค์ประกอบสำคัญก็คือ ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ที่จะทําให้ผลการรักษาเป็นไปตามความมุ่งหวัง”
รูปแบบความคิดที่เรียบง่าย…คุณหมอนํามาใช้พัฒนาการรักษา
คุณหมอเลือกใช้รูปแบบความคิดที่เรียบง่ายนํามาปรับใช้ในการรักษาผู้ป่วย ทําให้เข้าใจถึงการรักษาได้อย่างลึกซึ้ง
“การผ่าตัดกระดูกและข้อเป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก แพทย์ต้องอาศัยความชํานาญขั้นสูงในการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกและข้อให้พอดีกับสรีระของแต่ละคน หากเปรียบเป็นช่างทําเก้าอี้ ก็ต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ติดตะปูได้แม่นยําตั้งแต่ครั้งแรก ตลอดจนคํานึงถึงคุณค่าระยะยาวที่ส่งผลต่อการใช้งาน เช่นเดียวกับชั่วโมงบินของศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ก็ต้องมีความชํานาญเช่นกัน และต้องมีการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีความชํานาญที่มากยิ่งขึ้น”
แนวคิดนี้เองที่ทําให้เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้อสะโพกของ ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ กลายเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่ส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วย
การศึกษา
- 2522 – 2528 แพทยศาสตร์บัณฑิต, ม.มหิดล
- 2531 – 2534 ว.ออร์โธปิดิกส์, รพ.พระมงกุฏเกล้า
- 2536 – 2537 Orthopedic fellow, Niigata University Japan
ตารางออกตรวจ
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม
คลินิก ข้อเสื่อมและข้อเทียม